วิธีการรับมือเมื่อเกิดไฟไหม้

81 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการรับมือเมื่อเกิดไฟไหม้

เมื่อเหตุ "ไฟไหม้" อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด! ควรเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุ "ไฟไหม้" ขึ้นว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้าง?

ก่อนอื่นต้องบอกว่าหากเหตุผิดปกติใดๆ ขึ้นมา คนเราจะมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ "ไฟไหม้" ฉับพลันขึ้นสิ่งแรกที่คนเราจะทำคือ ช่วยเหลือตัวเองให้รอดปลอดภัยและออกจากสถานที่เสี่ยงภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งบางคนก็อาจจะยังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แนะนำวิธีปฏิบัติตนและอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย เอาไว้ดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.ตั้งสติให้ดี 

อย่างแรกคือต้องตั้งสติก่อน ไม่ตื่นตระหนก และไม่กระวนกระวาย ห้ามลังเลโดยเด็ดขาด และประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นว่าเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน และอยู่ใกล้ตัวมากแค่ไหน หากเหตุไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นในบ้านเรือนของตน ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที (คำเตือน ห้ามล้อเล่นกับไฟไหม้โดยเด็ดขาด)

 

2.โทรศัพท์แจ้ง 199

ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับความรุนแรงของไฟ และกินพื้นที่เป็นวงกว้างมากหรือน้อย ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 หรือ 191 ทันที ห้ามหาวิธีมาดับไฟเองโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและต่อผู้อื่นได้ หรืออาจจะทำให้ความรุนแรงของไฟเพิ่มขึ้น ถ้าทำการดับไม่ถูกวิธี


3.กดสัญญาณเตือนภัย

หากเป็นเหตุไฟไหม้ที่อยู่ในสำนักงานหรือออฟฟิศที่ทำงาน ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งปุ่มกดเตือนภัยเอาไว้ หากพบว่ามีประกายไฟหรือเกิดควันที่ทำให้แน่ใจว่าเกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่แน่ๆ ควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน แล้วให้รีบกดสัญญาณเตือนภัยทันที แล้วให้ทำการ อพยพออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด 

 

4.ใช้ถังดับเพลิง

ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” เพียงเล็กน้อย ให้ใช้ถังดับเพลิงที่มีภายในอาคารทำการฉีดหรือดับได้ทันที แต่ก่อนใช้ควรดึงสลักออกก่อนนะครับแล้วทำการฉีดถ้าไม่ดึงสลักออกจะทำให้ฉีดไม่ออกนะครับ แล้วจึงค่อยโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาควบคุมเพลิงในบางส่วนที่อาจหลงเหลืออยู่

5.ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกเมื่อพบควันให้หมอบคลานต่ำ

ขั้นตอนนี้เป็นการเริ่มอพยพออกจากพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

 

6. อย่าเปิดประตูทันที

หากเกิดไฟไหม้ข้างนอกและติดอยู่ในห้อง ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย แต่หากสัมผัสผนังหรือลูกบิด พบว่า มีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง

 

7.ห้ามใช้ลิฟท์

ห้ามใช้ลิฟต์ในการอพยพหนีไฟ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้

แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย และไม่ควรไม่ใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงลอยขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต 

8.ไม่แย่งกันลงบันได
เวลาเกิดเพลิงไหม้ ให้เดินลงบันไดหนีไฟกันอย่างเป็นระเบียบ ค่อยๆ ตามกันไป อย่าเบียดอย่าดัน ถ้าเกิดเบียดหรือดันกัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากการตกบันไดหรือ อื่นๆได้  แล้วอีกอย่าง ประตูบันไดหนีไฟหนาๆ สามารถทนไฟไหม้ได้ราว 2 ชั่วโมง 

 

9.หนีไฟในทิศทางที่ถูกต้อง
ปกติไฟจะลามจากชั้นล่างขึ้นชั้นบน ควรวิ่งลงบันไดหนีไฟไปชั้นล่างให้ได้ แต่หากเปลวเพลิงทำให้ไม่สามารถเดินลงไปสู่ชั้นล่าง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้